ออนไลน์ ทางรอดหรือทางร่วง ? คิดกระโจนขึ้น ออนไลน์ ดูให้ดีระวังเจอ “กับดัก”

     โควิด-19 รอบ 4 ที่ปรากฏขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ได้ซ้ำเติมความบอบช้ำจากปีก่อนให้หนักหน่วงกว่าเดิม ทำให้พ่อค้าแม่ขายหรือเจ้าของธุรกิจมากมาย หนีตายมาซบอกช่องทาง ‘ออนไลน์’ เพราะเชื่อกันเหลือเกินว่านี่คือ ทางรอด ในเวลานี้

 

     แต่สำหรับ ซินดี้ หรือ ธนิดา เกลอแก้ว นักยุทธศาสตร์แบรนด์ แห่ง ศิตา เอเจนซี่ กลับชี้ให้เห็นในอีกมุมมองว่า “รอดหรือไม่ไม่อยากให้ด่วนตัดสิน แต่อยากให้ระวังหลุมพรางในแสงสว่างที่ปลายอุโมงกันไว้สักนิด  อย่าหลงลืมเรื่อง ’การสร้างแบรนด์’ เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องติดอยู่ในวังวนของคำว่า ลูกครึ่งออนไลน์ ไปอีกนาน”

     โควิด-19 รอบ 4 ที่ปรากฏขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ได้ซ้ำเติมความบอบช้ำจากปีก่อนให้หนักหน่วงกว่าเดิม ทำให้พ่อค้าแม่ขายหรือเจ้าของธุรกิจมากมาย หนีตายมาซบอกช่องทาง ‘ออนไลน์’ เพราะเชื่อกันเหลือเกินว่านี่คือ ทางรอด ในเวลานี้

 

     แต่สำหรับ ซินดี้ หรือ ธนิดา เกลอแก้ว นักยุทธศาสตร์แบรนด์ แห่ง ศิตา เอเจนซี่ กลับชี้ให้เห็นในอีกมุมมองว่า “รอดหรือไม่ไม่อยากให้ด่วนตัดสิน แต่อยากให้ระวังหลุมพรางในแสงสว่างที่ปลายอุโมงกันไว้สักนิด  อย่าหลงลืมเรื่อง ’การสร้างแบรนด์’ เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องติดอยู่ในวังวนของคำว่า ลูกครึ่งออนไลน์ ไปอีกนาน”

 

 

ต้องสร้างแบรนด์ด้วย

 

     การค้าบนออนไลน์นั้นเป็น ‘กระแส’ หรือ ‘เทรนด์’ กันแน่ ? ซินดี้ ยกคำกล่าวของ บิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ ที่เคยออกมาเตือนว่า “ธุรกิจใดที่ไม่เข้าสู่ออนไลน์ ธุรกิจนั้นจะไม่รอด (If your business is not on the Internet, then your business will be out of business.) บทเรียนตำตาที่เห็นทุกวันนี้คือ ร้านรวงต่างๆ ถูกปิดมานานนับเดือน ถ้าไม่ใช้ออนไลน์ช่วย แบบนี้จะรอดหรือไม่ จึงทำให้ ณ. วันนี้…ใครๆ ก็แห่มาใช้แพลตฟอร์ม Facebook, TikTok, IG แล้วก็เน้นทำคอนเทนท์ๆ จากนั้นก็ยิงแอดๆ เพราะมีความเข้าใจว่า ถ้าคอนเทนท์ดี ยิงแอดปัง แอดมินถามตอบโดนใจ เท่านี้ก็ ‘รอด’ มันไม่ผิดที่ใครจะคิดแบบนี้!!! แต่มันถูกครึ่งเดียว…อย่างที่บอกไปแล้วว่า ระวังจะเป็น ลูกครึ่งออนไลน์’ คือรู้แค่ครื่ง ทำก็ครึ่งๆ แล้วก็สำเร็จแบบครึ่งๆ กลางๆ  

 

     ซินดี้ กล่าวต่อไปว่า “ทุกวันนี้หากมีเงิน…คุณจ้างคนมาเขียนคอนเทนท์ดีๆ ให้ได้ คุณจ้างแอดมินมาตอบคำถามให้ได้ จ้างมือดีมายิงแอดให้ก็ยังได้อีก คนเก่งๆ ในวงการนี้เยอะเลย” แต่พอหันมาที่ ‘การสร้างแบรนด์’ เจ้าของแบรนด์ หน้าตาเป็นไง นิสัยใจคอแบบไหน เก่งจริงหรือเปล่า ทุนหนาพอที่ไม่เทตัวแทนหรือไม่ เหล่านี้จำเป็นมากกับการทำมาค้าขายบนโลกออนไลน์ เพราะแม้ออนไลน์จะเป็นหน้าร้านเสมือนจริง แต่เจ้าของร้านควรต้องเป็นตัวจริง จับต้องได้จริง เพราะหัวใจของการค้าขายคือ ‘ความมั่นใจ’ และ ‘ความเชื่อใจ’  

 

     ถึงจะมีเงินจ้างคนมานั่งเป็นเจ้าของแบรนด์แทนได้ แต่ลองไปดูเถอะ มีหลายแบรนด์ได้รับบทเรียนราคาแพงจากการยืมจมูกคนอื่นหายใจมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นเจ้าของแบรนด์นั่นละ ที่จะต้องออกหน้าสร้างแบรนด์ด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์ที่ตรงใจแล้ว คุณจะได้เป็นแบรนด์ที่ยั่งยืนตามมาอีกด้วย”

 

 

อย่า ‘ตกหลุมพราง’

 

     การสร้างแบรนด์สำหรับกลุ่มการค้าบนออนไลน์ แม้ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินกำลัง ซินดี้ได้แนะแนวทางการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะการทำ Personal Branding ของเจ้าของแบรนด์ที่ทำตลาดบนออนไลน์ว่า…

 

     “อันดับแรก พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรกลับมาพิจารณาลักษณะทางกายภาพ ภาพลักษณ์ หรือคาแรคเตอร์ที่น่าเชื่อถือเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อะไร อย่าติดกับภาพลวงตา เช่น กลูต้า-ขาวจัง-ขายดี…เห็นใครขาย กลูต้าแล้วรวย เราก็จะทำบ้าง ทั้งที่เราเป็นคนผิวแทนหรือดำ 

 

     ทีนี้ถ้าโยงเข้าโลกออนไลน์คุณอาจมั่นใจว่าคุณขายเก่ง คุณ FB LIVE แต่ละครั้ง คนเข้าชมทีละหลายพัน อยากให้ระวังจุดนี้ เพราะยอดคนเข้าชมกับยอดขายสินค้าจริง มันคนละเรื่องกัน!!! ซึ่งถ้าเขาเป็นลูกค้าของศิตา เอเจนซี่ เราจะลองเสนอให้เลือกสินค้าที่ช่วยให้ผิวเนียนกระชับแทน เพราะจริงๆ ผิวสวยไม่ใช่แค่ ขาว’ แต่ผิวที่ละเอียด เกลี้ยงเกลา เนียนกระชับ คือปัจจัยที่ชี้ไปยังคำว่า ผิวสวย’ ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเลือกสินค้าที่เหมาะกับตัวเอง พร้อมกับการสร้างแบรนด์ที่ถูกต้อง อันนี้คุณปัง! แถมยังมีตัวเองเป็น TESTIMONIAL ที่เดินได้ ทำไปทำมาจากเจ้าของแบรนด์ธรรมดาๆ อาจกลายเป็นผู้นำเทรนด์วงการความงามไปแบบไม่รู้ตัว 

 

     นอกจากนี้อย่าลืมเรื่องโปรไฟล์ของตัวเอง…ช่วยบอกประชากรโลกออนไลน์ได้รู้ด้วยว่า คุณเป็นใคร – มาจากไหน – มีความสำเร็จอะไรที่อ้างอิงได้ (Track Record) ยกตัวอย่างเช่น ฉลองยอดขาย 1 แสนชิ้น…คำว่า ‘1 แสนชิ้น’ ตอบอะไรได้หลายอย่างมาก อาทิ สินค้าต้องดีจริงๆ จึงจะขายได้มากขนาดนี้, ด้วยยอดขายนี้สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจนี้มีการเติบโต มันมีคำว่าความน่าเชื่อถือโดยอัตโนมัติอยู่ในนั้น หากว่าสั่งซื้อไป คงไม่โดนหลอกลวง ฯลฯ”

 

 

ขาย ‘หรู – รวย’ ได้ แต่ต้องทำได้จริง

 

     คงเคยเห็นกันบ่อยกับภาพถ่ายเจ้าของแบรนด์ โดยเฉพาะสายขายสินค้าออนไลน์ มักมากับความรวย ความหรู ซูเปอร์คาร์ เพื่อบ่งบอกถึงความสำเร็จ ทั้งนี้ ซินดี้ สะท้อนข้อคิดที่น่าสนใจว่า “การถ่ายภาพกับบ้านหลังโต ถ่ายภาพคู่กับซูเปอร์คาร์ หรือโชว์นาฬิกาหรู เพื่อสะท้อนภาพความสำเร็จ แบบนั้นเป็นอย่างไร…ก็ตอบว่า ‘ยังทำได้’ แต่ถ้าเป็นลูกค้า ‘ศิตา เอเจนซี่’ จะไม่ให้เน้นที่จุดนั้นมาก เพราะปัจจุบันกระแสความรวยแบบชั่วคราว ความหรูแบบเช่ามา เพื่อเอามาสร้างภาพโปร โมท มันมีเยอะ จึงอาจกลายเป็น ‘ดาบสองคม’ ต่อแบรนด์ของลูกค้าเราได้

 

     โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้คนกำลังยากลำบากจากสถานการณ์ โควิด-19 แบบนี้ แรกเริ่มจากที่เจ้าของแบรนด์เพียงหวังสร้าง DRIVE ให้เกิดแรงบันดาลใจ แต่ตอนปลายมันอาจก่อให้เกิดแรงหน่วง ที่ทำผู้คนที่กำลังท้อแท้ในชีวิตอยู่แล้ว ท้อแท้หนักขึ้น สุดท้ายอาจจบที่ผู้คนเหล่านั้น หันกลับมาต่อต้านแบรนด์ ถ้าเกิดแบบนั้นจริงๆ คือน่ากลัวนะ 

 

     ขณะเดียวกัน อีกกลุ่มธุรกิจที่นิยมกับไบเบิ้ลความสำเร็จแนวนี้คือ กลุ่มธุรกิจเครือข่าย หรือ MLM ที่ต้องอาศัยแม่ทีม – ลูกทีม เพื่อผลักดันยอดขาย…การถ่ายภาพแบบนี้อาจทำให้คนอื่นฝากความหวังไว้กับเจ้าของบริษัท หรือแม่ทีมหนักมาก แต่ถ้าสินค้าดีจริง กลยุทธ์การตลาดดีจริง ไม่ทิ้งไม่เทลูกทีม แบบนี้ก็ไปได้ยาว คือ ถ้ามองแบบใจกว้าง ทุกวงการมีตัวจริง ตัวปลอม เหมือนกันหมด…วงการธุรกิจเครือข่ายเองก็คงไม่ได้มีแต่มารร้าย MONEY GAME หลอกพวกแมงเม่าทุนน้อยให้ไปติดกับดักเสมอไป แต่อย่างไรก็ตาม “ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน” คุ้นกันหรือไม่กับคำเตือนนี้

ถ้าไม่ขาย ‘หรู – รวย’ ช่วยบอกที ทีนี้จะขายอะไร 

  

     ตอนนี้การขาย ‘หรู – รวย’ อาจเป็นดาบสองคม จะมีทางออกที่เป็นทางอื่น หรือไม่ ซินดี้ตอบในข้อนี้ว่า ไม่ได้ห้ามในการขายหรู ขายรวย เพียงแต่ขอให้โชว์ในปริมาณที่เหมาะสม และหากเป็นลูกค้า ศิตา เอเจนซี่โดยตรงเราจะให้เน้นไปที่ ‘Know-How – Knowledge’ ของเจ้าของแบรนด์มากกว่า เพราะมันจับต้องได้เร็วกว่าจริงกว่าคำว่า ‘รวย’ เสียอีก…ลองคิดดูดีๆ

 

     ขอยกตัวอย่างกับธุรกิจเครือข่าย หรือธุรกิจที่ต้องมีการสร้างลูกทีม คนที่เข้ามาใหม่เขาได้เห็นว่า เจ้าของแบรนด์รวยเป็นอันดับแรก…ซึ่งก็จริง…เชื่อว่า DRIVE มันเกิดในใจคนมาใหม่แน่ๆ เพราะใครก็อยากรวย…แต่ที่สำคัญ TOUCH มันไม่มี ประสบการณ์ตรงยังไม่เกิด เพราะแม้ตาเห็นก็จริง แต่เขาก็ไม่ได้รวยขึ้นได้เดี๋ยวนี้เลย ซึ่งหากในเวลาถัดมา เขาได้มีโอกาสสัมผัสกับ ‘Know-How – Knowledge’ จากตัวเจ้าของแบรนด์ สิ่งที่เขาจะรับได้ด้วยตัวเองทันทีคือ…อ๋อ..เออ…อืม…เราได้รู้มากขึ้น เราฉลาดขึ้น หลังจากนั้นเขาไปลงมือทำงาน แต่คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ และที่สุดก็อาจได้รับความรวยตามมา ดังนั้นสูตรสำเร็จของคนธรรมดาที่ไม่ใช่ลูกเศรษฐีปลอมตัวมาแอบดูธุรกิจคุณคือ เรียน – รู้ – รวย’  หรือ รวย–รู้-เรียน’ ลองคำนวณสมการนี้ดู

 

     การให้  ‘Know-How – Knowledge’ อาจไม่หวือหวา แต่คือการหยั่งรากลึก ที่จะทำให้แบรนด์เกิดความยั่งยืน การให้ความรู้’ จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ด้วยความรู้สึกปรารถนาดี จะเป็นพันธสัญญาในกิจกรรมทางธุรกิจที่เหนียวแน่นกว่าคำว่า ผลประโยชน์ เพราะมันคือ ความผูกพันธ์ หลายครั้งเราสามารถตัดรักออกไปจากใจได้ แต่มีกี่ครั้งที่เราจะสามารถตัดสายใยผูกพันให้ใครคนนั้นพ้นๆ ไปจากชีวิตเรา…มันยากนะ

 

 

ทำให้คนรักให้ได้

 

     ซินดี้สรุปในตอนท้ายถึงการสร้างแบรนด์บนช่องทางออนไลน์ว่า “อยากให้เจ้าของแบรนด์ไม่ลืมที่จะพัฒนาตนเองแล้วปั้นตัวเองเป็น Personal Branding ให้ได้ เพราะสุดท้ายการตัดสินใจซื้อของลูกค้านั้นไม่ได้มีแค่คอนเทนต์กับยิงแอดเท่านั้น มันต้องมีความน่าเชื่อถือ การสร้างแบรนด์จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในแบบที่เรียกว่า มันต้องมี

 

     ส่วนการสร้างแบรนด์นั้น ถ้าทำให้คนรักคุณเป็น คุณก็ปั้นแบรนด์ได้ จริงๆ มันมีหัวใจอยู่แค่นี้…แต่ลองนึกดูดีดีในชีวิตคนเราจะสมหวังในความรักได้กี่ครั้ง ดังนั้นดูเหมือนง่ายแต่มันก็ไม่ง่าย มาถึงตรงนี้ หากใครสนใจในเรื่องการสร้างแบรนด์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนสามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยเบี้องต้นกับเรา ศิตา เอเจนซี่ ได้ที่ @sitaagency โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น